ถ้าหมอ(เผลอ)ฉีดยาปลอม … จะต้องทำอย่างไร ?

กรณีนี้เป็นเคสคลาสสิค สมมติ คุณหมอไปเป็น part time ที่บางคลินิกและดันเป็นคลินิกสายเทาที่แอบเอายาปลอมมาใช้กับคนไข้เพื่อลดต้นทุน

และคุณหมอก็ดันไปร่วมงาน และเป็นในผู้ใช้ยาที่ทางคลินิกเตรียมไว้ซะด้วย !

แบบนี้ในทางกฎหมายเรามองยังไง ?

.

1.โดยทั่วไป คุณหมอจะต้องให้การรักษา “ตามมาตรฐาน” ซึ่งคงไม่มีมาตรฐานใดมีพูดถึงการอนุญาตให้คุณหมอ หรือ สถานพยาบาลใช้ยาปลอมในคนไข้ เพราะฉะนั้นการใช้ยาปลอมจึงผิดอย่างไม่ต้องมีข้อสงสัยทั้งทางกฎหมายและศีลธรรม

แล้วถ้าหมอใช้ไปแล้ว….จะเป็นยังไงต่อ

.

2.ต้องมาดูก่อนว่าคุณหมอ “ทราบอยู่แล้ว” หรือไม่ว่าเป็นยาปลอม ? ถ้ารู้ทั้งรู้ว่าปลอมแต่ยังใช้ ในทางกฎหมายเรียกว่า “จงใจกระทำความผิด” กรณีนี้ทางกฎหมายจะกำหนดโทษไว้สูงกว่ากรณีอื่น ๆ

.

3.แต่ยานั้นดูมีแนวโน้มที่จะเป็นของปลอม และคุณหมอก็ไม่มั่นใจ 100% แต่คุณหมอตัดสินใจเดินหน้าฉีดให้แก่คนไข้ เช่น กล่องสีแปลก ๆ บาร์โค้ดสแกนไม่เข้า หรือ มีข้อเท็จจริงที่ชวนสงสัย

หรืออีกกรณีคือใครเตรียมยาอะไรให้มา หมอก็ฉีดไปโดยปราศจากความระมัดระวัง

กรณีนี้คุณหมออาจจะเข้าข่าย “ประมาทเลินเล่อ”

นั่นคือถ้าได้ใช้ความพยายามในการตรวจสอบกว่านี้ คุณหมอก็จะทราบได้ว่ายานั้นคือของปลอม แต่เป็นเพราะขาดความระมัดระวังจึงทำให้เกิดเหตุร้ายนี้

การ “ประมาทเลินเล่อ” ในทางกฎหมายจะกำหนดโทษที่เบากว่า “จงใจกระทำความผิด” แต่ยังมีความผิดอยู่ดี

4.ถ้าคุณหมอเช็คแล้วอะไรแล้ว แต่ยามันปลอมได้เนียนชนิดไร้ที่ติชนิดว่าแทบจะแยกไม่ออกจากของจริง

และถ้ายาตัวนี้ไปตกอยู่ในมือของแพทย์ผู้ใดย่อมจะเข้าใจผิดเช่นเดียวกับเรา เชื่อเพื่อนแพทย์ อาจารย์ หรือ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญ เพราะแม้จะใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่แต่ก็ยังดูไม่ออกว่าปลอม

ในกรณีนี้เข้าหลักว่าคุณหมอเป็นผู้บริสุทธิ์ที่ฉ้อฉล ในทางกฎหมายย่อมเข้าใจและให้ความเป็นธรรมกับคุณหมอ จะพิจารณาถือว่าคุณหมอบริสุทธิ์

แต่ทั้งนี้ ในสถานการณ์จริง คุณหมออาจจะต้องเอา “ข้อเท็จจริง” มายืนยันในควาบริสุทธิ์ของตนเอง เพื่อไม่ให้ไปตกอยู่ในสองกรณีข้างต้น

คุณหมอที่ทำงานด้านความงาม จึงจำเป็นจะต้องระวังตัว โดยเฉพาะถ้าเราต้องทำงานร่วมกับใคร ไม่งั้นอาจจะมีความผิดฐาน “ประมาทเลินเล่อ”

สวัสดีครับ

อ.ทิว บริษัท Medical Legal Consulting

….
ถ้าคุณหมอสนใจเพิ่มความรู้ด้านกฎหมาย ขอเรียนเชิญมาร่วมงานอบรมนี้ครับ

งานอบรมด้านกฎหมายสำหรับแพทย์ความงามครับ

Defending Your Practice: Expert Insights on Medical Malpractice and Patient Litigation for Esthetic Practices

ค่าลงทะเบียน 15,500 บาท

17 มิถุนายน 2566 รร.เอสซีปาร์ค

รายละเอียดและ ลิ้งสำหรับลงทะเบียน. https://lin.ee/IQVhYm9

ความเสี่ยงต่าง ๆ จากการแขวนป้าย

ถ้าคุณหมอยอมให้คลินิกอื่นที่ไม่ใช่คลินิกของเราแขวนป้าย หรือใช้ชื่อของเราในการประกอบกิจการ คุณหมอจะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง

ข้อนี้มีถามเข้ามาเรื่อยๆเหมือนกันครับ  ทั้งจากแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร 

ขออนุญาติมาอธิบายในโพสนี้เลยละกัน

.

1. หมอแขวนป้าย คือ การที่คลินิกมาขอชื่อเราไปเป็น “ผู้ดำเนินการ” 

.

2. ผู้ดำเนินการ ไม่ใช่ เจ้าของคลินิกนะครับ เป็นคนละตำแหน่ง (แต่จะเป็นคนเดียวและสวมสองบทบาทก็ได้ในกรณีเป็นวิชาชีพแพทย์)

.

3. ผู้ดำเนินการ จะต้องรับผิดชอบคลินิกให้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.สถานพยาบาลฯ  ( Search google หาอ่านเลยได้)

.

4. หลักการของ พ.ร.บ.สถานพยาบาลฯ กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของ *ผู้ดำเนินการ ไว้หลายประการ และกำหนดโทษอาญาไว้ถึงจำคุก  จึงถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญ

.

4. ผู้ดำเนินการ จึงมีภาระผูกพันธ์และความรับผิดชอบ และเมื่อมีความผิดหรือกระทำผิดกฎหมายก็จะต้องรับโทษ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องควบคุมดูแล

.

5.ตัวอย่างความผิดที่จะเกิดแก่ผู้ดำเนินการ ได้แก่ 

.

5.1 คลินิกไม่ได้เช็คประวัติคุณหมอก่อนมาร่วมงานและดันมีหมอเถื่อนแอบแฝงเข้ามาทำงาน

กรณีนี้ผู้ดำเนินการจะต้องรับผิดชอบเพราะทำผิดมาตรา 34(1) ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ใช่หมอมาทำการรักษาคนไข้   

**จะปฎิเสธว่าไม่รู้เรื่องไม่ได้ แม้คุณหมอจะไม่ใช่คนรับสมัครหมอเถื่อนคนนั้นเข้ามาทำงานก็ตาม (นอกจากถูกหลอก อันนี้อีกประเด็นที่ต้องวินิจฉัย)

ข้อนี้ผิดจรรยาบรรณด้วย และอาจได้รับโทษพักใบอนุญาตนานถึง 1 ปี

.

5.2 หมอที่มารับจ้างกระทำผิดมาตรฐานวิชาชีพ และประมาทเลินเล่อจนคนไข้ได้รับความเสียหาย (Malpractice) 

ผู้ดำเนินการจะต้องรับผิดตามมาตรา 34(2) เพราะผู้ดำเนินการมีหน้าที่ควบคุมดูแลคุณหมอที่มาทำงานในคลินิกให้ทำงานอย่างมีมาตรฐานตามกฎหมาย  

**แม้เราจะไม่ใช่คนทำผิดโดยตรงต่อคนไข้ แต่จะปฎิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ 

.

5.3 ถ้าคลินิกไปจ้างคนทำโฆษณา เช่น facebook และใช้คำโฆษณาผิดหรือไม่ทำตามกฎหมายกำหนดว่าด้วยการโฆษณา 

.

ผู้ดำเนินการจะมีความผิดตามมาตรา 38 **แม้คนที่ทำคือคนนอก หรือ จ้างคนมาทำ แต่ความผิดจะตกที่ผู้ดำเนินการ

.

นี่คือบางส่วนของตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าความรับผิดชอบใหญ่หลวง เรียกได้ว่ามากกว่าเจ้าของคลินิกเสียด้วยซ้ำ 

.

เพราะฉะนั้นการยินยอมให้ใครเอาชื่อเราไปแขวน ย่อมแลกมาด้วยความเสี่ยงและภาระความรับผิดชอบสูงที่ไม่สามารถปฎิเสธได้ 

คุณหมอที่จะให้ผู้อื่นเอาชื่อเราไปใช้จะต้องคิดให้รอบคอบ ถ้าได้เจ้าของคลินิกที่ดีปัญหาจะน้อย แต่ถ้าได้คนไม่ดีเราจะต้องรับผิดชอบกับหลาย ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นในคลินิก 

***และถ้าอยากป้องกันเหตุร้ายต่าง ๆ การร่างข้อตกลงหรือสัญญาการร่วมงานจะช่วยลดความเสี่ยงได้มาก โดยเฉพาะไปเจอคลินิกสายดาร์คที่มักทำอะไรเทาๆให้เสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย

สวัสดีครับ

อ.ทิว บริษัท Medical Legal Consulting 

….

ถ้าคุณหมอสนใจเพิ่มความรู้ด้านกฎหมาย ขอเรียนเชิญมาร่วมงานอบรมนี้ครับ

… 

งานอบรมด้านกฎหมายสำหรับแพทย์ความงามครับ 

Defending Your Practice: Expert Insights on Medical Malpractice and Patient Litigation for Esthetic Practices

ค่าลงทะเบียน 15,500 บาท

17  มิถุนายน 2566 รร.เอสซีปาร์ค

รายละเอียดและ ลิ้งสำหรับลงทะเบียน. https://lin.ee/IQVhYm9

สวัสดีครับ ช่วงนี้มีคุณหมอพูดถึงใบรับรองแพทย์กันเยอะ ผมในฐานะนักกฎหมายขอมาแสดงความเห็นเผื่อจะเป็นประโยชน์แก่คุณหมอกันนะครับ

.

1. ใบรับรองแพทย์ (medical certificate หรือ doctor’s note) เป็นเอกสารที่ออกโดยแพทย์วิชาชีพเท่านั้น

.

2. มีความสำคัญทางกฎหมาย เพราะเป็นเอกสารที่เกี่ยวโยงกับการยืนยันสภาพและสิทธิของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

.

3. ในทางกฎหมาย เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้เป็นหลักฐานในหลายหน่วยงาน เช่น

– สิทธิในการสมัครงาน และลางาน

– สิทธิในการละเว้น เช่น การลาป่วย หรือ ใช้สิทธิเพราะการตั้งครรภ์

– สิทธิที่จะได้รับเงินชดเชย เช่น ชดเชยจากการบาดเจ็บ หรือ ป่วย จากประกัน

– สิทธิในโอกาสเฉพาะ เช่น ใบรับรองการฉีดวัคซีนเพื่อการเดินทาง

.

4. เพราะผูกพันธ์กับสิทธิจึงมีความสำคัญยิ่ง ใบรับรองแพทย์จะต้องมีความถูกต้องเที่ยงตรง และกระทำโดยแพทย์วิชาชีพเท่านั้น กฎหมายจึงได้กำหนดโทษในกรณีที่เกิดความไม่สุจริตขึ้น

.

5. ความไม่สุจริต หรือ ความไม่ถูกต้องในกรณีใบรับรองแพทย์มองได้สองกรณี คือ

.

– ใบรับรองฯ ที่ไม่ได้ออกโดยแพทย์วิชาชีพ (เอกสารปลอม)

เช่น มีคนนั่งเทียนเขียนขึ้นมา หรือผู้ที่ต้องการใบรับรองแพทย์ก็ร่างขึ้นมาเพื่อใช้เอง ในกรณีนี้ ผู้ที่สร้างเอกสารลักษณะนี้ย่อมมีความผิด “ฐานปลอมเอกสาร”

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ซึ่งระบุว่า

“ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริงหรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

.

– ใบรับรองที่ออกโดยแพทย์วิชาชีพแต่เป็นเท็จ (เอกสารเป็นตัวจริง แต่ข้อความเป็นเท็จ เรียกว่า เอกสารเท็จ)

กรณีนี้คุณหมอเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง จึงไม่ใช่เอกสาร “ปลอม” แต่เป็นเอกสาร “เท็จ”

ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269 ซึ่งระบุว่า

“ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

นอกจากนี้ อาจมีความผิดอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ตาม ข้อบังคับแพทยสภา หมวด 4 ข้อ 25 ซึ่งโทษจะได้รับเท่าใดย่อมอยู่ที่ดุลยพินิจของกรรมการแพทยสภา ซึ่งมีตั้งแต่ตักเตือนจนถึงให้สิ้นสภาพการเป็นสมาชิก

ดังนั้น จะเห็นว่าในทางกฎหมายแล้ว “เอกสารปลอม” กับ “เอกสารเท็จ” จะแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผู้กระทำก็มีความผิดอาญาทั้งคู่ครับ

อ.ทิว

งานอบรมด้านกฎหมายสำหรับแพทย์ความงามครับ

Defending Your Practice: Expert Insights on Medical Malpractice and Patient Litigation for Esthetic Practices

กฎหมายสำหรับแพทย์ความงาม

17 มิถุนายน 2566 รร.เอสซีปาร์ค

โดยบริษัท Medical Legal Consulting

เนื้อหาและหัวข้อที่จะเรียน

– แขวนป้ายยังไงให้ปลอดภัย และไม่ถูกฟ้อง

– ความรับผิดของคุณหมอแขวนป้ายในกรณีต่าง ๆ เช่น หมอปลอม , พนักงานรักษา พลาด , หมอ Parttime ถูกฟ้อง , คนไข้เรียกค่าเสียหายกับคลินิก

– Infomed Consent Mastery : ทำไม informed consent ทั่วไปมักใช้ไม่ได้ และที่ถูกต้อง รัดกุม และใช้ได้ในศาลเป็นอย่างไร (พร้อมตัวอย่าง)

– เส้นบาง ๆ ระหว่าง Medical complication และ Malpractice วัดที่ตรงไหน ?

– เมื่อหมอรักษาพลาดและคนไข้ฟ้อง …คลินิกและหมอ แบ่งกันรับผิดอย่างไร ? (หมอ parttime / หมอประจำ / ผู้ดำเนินการ)

– การเตรียมพยานเอกสารยังไงให้ไม่พลาด ….เมื่อถูกฟ้อง

– ค่าเสียหายที่คนไข้เรียกร้องและแนวทางการรับมือการรับมือ

– ขั้นตอนรับมือ เมื่อคนไข้เกิดความไม่พึงพอใจ

– หมอ…ฟ้องกลับได้ในกรณีใดบ้าง

– สัญญาร่วมงานกับคลินิก สิ่งที่คุณหมอต้องเข้าใจก่อนลงมือเซนต์สัญญาร่วมงาน

– ทนายมีบทบาทยังไงในการช่วยแก้ไขปัญหา

– ประกันวิชาชีพช่วยคุณได้ยังไง และแค่ไหน ในวันที่เกิดปัญหากับคนไข้

รวม

– คู่มือและเอกสารเรียน

– ตัวอย่างเอกสาร informed consent

– ตัวอย่างเอกสารไกล่เกลี่ยและไม่เอาความ

ค่าลงทะเบียน 15,500 บาท

17 มิถุนายน 2566 รร.เอสซีปาร์ค

ลิ้งสำหรับลงทะเบียน. https://lin.ee/IQVhYm9

Malpractice ในงานจัดฟัน วัดกันตรงไหน ?

มีคุณหมอถามผมว่า ผมจะบรรยายเรื่อง Malpractice ในงานจัดฟันด้วยไหม ?

แน่นอนครับ หัวข้อนี้สำคัญมาก ๆ แม้ผมจะไม่ได้เป็นหมอฟันแต่ก็สามารถวินิจฉัยได้ว่าสิ่งที่คุณหมอจัดฟันไปนี้เข้าข่าย Malpractice หรือไม่ (โดยใช้วิธีพิจารณาทางกฎหมายประกอบ)

ทั้งนี้คุณหมอเข้าใจคำว่า Malpractice แค่ไหน ?

และแบบใดที่เป็นหรือไม่เป็ร Malpractice? จุดแบ่งอยู่ตรงไหน?

โดยทั่วไปการพิจารณาว่า Malpractice หรือ ไม่ Malpractice หลัก ๆ เราจะดูสองอย่าง

1.รักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ และใช้ความระมัดระวังเพียงพอหรือไม่ ?

2.คนไข้ได้รับความเสียหายหรือไม่?

รักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ และใช้ความระมัดระวังเพียงพอหรือไม่? (Professional Standard of Care)

อย่างการ “จัดฟัน” คุณหมอจะต้องทราบว่าในกระบวนการรักษา อะไรคือ “มาตรฐานของการรักษา” ของการจัดฟัน ?

เช่น การมีฟิลม์ X-ray การซักประวัติ การเขียนชาร์ต แผนการรักษาที่มีมาตรฐาน

แต่ถ้าไม่มีมาตรฐาน เช่น ไม่เขียนชาร์ต หรือ เขียนชาร์ตสั้น ๆ ง่าย ๆ สื่อความหมายใด ๆ ไม่ได้ ไม่มี X-ray

หรือ รักษาด้วยวิธีพิสดารที่คิดค้นขึ้นมาเอง แบบนี้ย่อมผิดไปจากมาตรฐานการรักษา

ทุกวันนี้คุณหมอให้บริการจัดฟัน “อย่างมีมาตรฐาน” หรือไม่? อันนี้ผมคิดว่าคุณหมอน่าจะทราบดีกว่าผม ซึ่งไม่ใช่หมอ

หรือถ้าคุณหมอยังไม่ค่อยมั่นใจนัก หรือมี gray area อาจจะต้องทบทวน ค้นหา ศึกษาเรียนรู้เพิ่ม หรือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจจะทำให้มั่นใจขึ้น

สำหรับประเด็นที่สอง คือ คนไข้เกิดความเสียหายหรือไม่ ? (results in harm, injury, or death to a patient)

ความเสียหายมีหลายรูปแบบ เช่น ต่อร่างกาย ต่อจิตใจ ต่อสิทธิ และทรัพย์สิน เป็นต้น

สมมติคุณหมอจัดฟันให้คนไข้ไปด้วยเทคนิคพิสดาร แล้วคนไข้จัดฟันไม่เสร็จสักที คนไข้เริ่มบ่นว่าหมอเลี้ยงไข้ ทำให้เขาเสียเงินและเสียเวลา เช่นนี้ย่อมนับได้ว่าเกิดความเสียหาย

หรือ การรักษามีบางอย่างเกิดขึ้นและผิดไปจากแผน คนไข้ถูกถอนฟันเพิ่ม และไม่เคยได้รับแจ้งไว้ในส่วนนี้ ก็นับว่าเสียหาย

ความเสียหายที่เกิดกับคนไข้ จะเป็นสาเหตุอันนำไปสู่การฟ้องร้องเสมอ เพระเสียหายคนไข้ถึงฟ้องนั่นเอง (นอกจากเคสคนไข้ที่อาจจะไม่ได้เสียหายจริง)

อยากให้กลับมาย้อนดูทั้งสององค์ประกอบที่ผมกล่าวมา คือ รักษาได้มาตรฐานวิชาชีพ+ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ และความเสียหายที่คนไข้ได้รับ

สมมติ คุณหมอจัดฟันตามมาตรฐานด้วยความรอบคอบทุกอย่าง แต่คนไข้เกิดมีความเสียหายบางอย่าง เช่น เลือดไหลไม่หยุด หรือ ชักตายคาเก้าอี้ทำฟัน เช่นนี้ ยังไม่นับว่าMalpractice

และถ้าคุณหมอใช้เทคนิคจัดฟันแบบพิสดาร แต่สามารถจัดฟันเสร็จ คนไข้ไม่เกิดความเสียหาย และคนไข้ก็พึงพอใจในผลที่ออกมา ก็ ยังไม่อาจนับว่าMalpractice เช่นกัน

เพราะฉะนั้นการผิดมาตรฐานการรักษา ยังไม่อาจนับว่าถึงขั้น Malpractice ในทางกฎหมาย

แต่ถ้าการผิดมาตรฐานการรักษาเหตุอันนำไปสู่ความเสียหายบางอย่างในอนาคต เช่น ไม่ X-ray แล้วผ่าตัดไปแล้วคนไข้มีอาการชาไม่หาย จะเข้าองค์ประกอบว่า Malpractice

คุณหมออ่านถึงตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะทำให้คุณหมอพอเข้าใจได้มากขึ้นว่าการกระทำใดเข้าข่าย Malpractice หรือไม่ (คุณหมอสามารถแชร์ข้อมูลส่วนนี้ให้เพื่อน ๆ คุณหมอได้เลย ผมเชื่อว่าเป็นประโยชน์แน่นอนสำหรับทุก ๆ ท่าน)

ท่านใดอยากเรียนกฎหมายแบบสนุก ๆ และเข้าใจง่าย ๆ รวมถึงมีเคสที่อยากสอบถามเพิ่มเติมหรือแลกเปลี่ยน พบกันใน หลักสูตรหมอฟันทันกฎหมาย นะครับ ผมมั่นใจว่าคุณหมอจะเข้าใจกฎหมายมากขึ้น และมีเกราะป้องกันตัวที่ดีมาก ๆ ในอนาคตการทำงาน

สวัสดีครับ

คำถาม : มือปืนลาออกไป และเอา opd card คนไข้ติดมือไปด้วย เพราะอ้างว่าเป็นคนไข้ที่ตนเองรักษา

แบบนี้ผิดไหม ?

….

ปัญหาประเภทนี้ มักเป็นที่ถกเถียงกันเป็นประจำ

โดยเฉพาะกรณีที่คุณหมอมือปืนอยากจะลาออกและอยากได้ข้อมูลของคนไข้ติดตัวไปด้วยเพื่อจะเปิดคลินิกใหม่ (ซึ่งแน่นอนคงไม่บอกตรง ๆ)

หรือ บางคนอ้างอยากมีจะข้อมูลของคนไข้ไว้เพราะอยากคบหา อาจจะอยากจีบ อยากสนิทสนม คิดว่าก็คงมีบ้างไม่มากก็น้อย

หรืออ้างว่าอยากโทรศัพท์หาคนไข้ด้วยตนเองเพื่อผลลัพธ์ที่ดีในการบริการให้สมกับศีลธรรมและจรรยาบรรณที่พึ่งมี และเจ้าหน้าที่คลินิกกระทำได้ไม่ดีเท่กับตน เป็นต้น

ผมคิดว่าความรู้ในมุมของข้อกฎหมายน่าจะช่วยวางหลักปฎิบัติ และไม่ทำให้เกิดการทะเลาะกันได้ เพราะในข้อกฎหมายก็มีการกล่าวถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ เกี่ยวกับเวชระเบียน หรือ ที่คุณหมอเรียกกันว่า OPD card ไว้พอสมคร

.

1.หมอมือปืนที่รักษาเป็นหมอของคนไข้ อันนี้เข้าใจ

แต่การเอา opd card ของคนไข้ไปไว้ที่ตนเองเป็นคนละเรื่อง

.

2.ตามกฎหมาย พ.ร.บ. สถานพยาบาล คลินิกมีหน้าที่โดยตรงในการเก็บรักษา opd card ไว้ที่คลินิกในช่วงระยะเวลานึง

.

3.ใน พ.ร.บ. และตัวกฎหมายอื่น ไม่มีบทบัญญัติใดบอกว่ามือปืน เอา opd card ออกไปได้ และไม่มีกำหนดไว้ถึงหน้าที่ดังกล่าว

.

4.เต็มที่ มือปืนมีหน้าที่บันทึก และเรียกใช้ opd card เพื่อในการรักษาคนไข้ตามหน้าที่ เป็นราย ๆ ไปเท่านั้น

.

5.ถ้ามือปืนตัดสินใจเอา OPD card ไปโดยไม่ได้รับการยินยิมจากสถานพยาบาล อาจมีความผิดฐานลักทรัพย์ และ เอาไปเสียซึ่งเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญา เจ้าหน้าที่เคาเตอร์ที่นำให้หมอก็จะโดยด้วยในฐานะผู้ร่วมกันกระทำความผิด

.

6.และกรณีมือปืนทำสำเนา ถ่ายภาพ เอกสาร opd card ก็อาจมีความผิดเรื่องละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

.

7.แล้วคนไข้มีสิทธิ์เอาไปไหม ? คำตอบคือ คนไข้มีสิทธิ์เพียง “คัดสำเนา” ข้อมูลใน opd card ของตนเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิ์นำ opd card ต้นฉบับออกไป (นอกจากขออำนาจศาลในบางกรณี)

.

8.คลินิกเองก็ต้องระวัง และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ opd card ตามที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาลฯ ได้ จะยกให้ใคร จะทิ้ง ก็ต้องดูดี ๆ ก่อน

อ.ทิว