Malpractice ในงานจัดฟัน วัดกันตรงไหน ?

Malpractice ในงานจัดฟัน วัดกันตรงไหน ?

มีคุณหมอถามผมว่า ผมจะบรรยายเรื่อง Malpractice ในงานจัดฟันด้วยไหม ?

แน่นอนครับ หัวข้อนี้สำคัญมาก ๆ แม้ผมจะไม่ได้เป็นหมอฟันแต่ก็สามารถวินิจฉัยได้ว่าสิ่งที่คุณหมอจัดฟันไปนี้เข้าข่าย Malpractice หรือไม่ (โดยใช้วิธีพิจารณาทางกฎหมายประกอบ)

ทั้งนี้คุณหมอเข้าใจคำว่า Malpractice แค่ไหน ?

และแบบใดที่เป็นหรือไม่เป็ร Malpractice? จุดแบ่งอยู่ตรงไหน?

โดยทั่วไปการพิจารณาว่า Malpractice หรือ ไม่ Malpractice หลัก ๆ เราจะดูสองอย่าง

1.รักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ และใช้ความระมัดระวังเพียงพอหรือไม่ ?

2.คนไข้ได้รับความเสียหายหรือไม่?

รักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ และใช้ความระมัดระวังเพียงพอหรือไม่? (Professional Standard of Care)

อย่างการ “จัดฟัน” คุณหมอจะต้องทราบว่าในกระบวนการรักษา อะไรคือ “มาตรฐานของการรักษา” ของการจัดฟัน ?

เช่น การมีฟิลม์ X-ray การซักประวัติ การเขียนชาร์ต แผนการรักษาที่มีมาตรฐาน

แต่ถ้าไม่มีมาตรฐาน เช่น ไม่เขียนชาร์ต หรือ เขียนชาร์ตสั้น ๆ ง่าย ๆ สื่อความหมายใด ๆ ไม่ได้ ไม่มี X-ray

หรือ รักษาด้วยวิธีพิสดารที่คิดค้นขึ้นมาเอง แบบนี้ย่อมผิดไปจากมาตรฐานการรักษา

ทุกวันนี้คุณหมอให้บริการจัดฟัน “อย่างมีมาตรฐาน” หรือไม่? อันนี้ผมคิดว่าคุณหมอน่าจะทราบดีกว่าผม ซึ่งไม่ใช่หมอ

หรือถ้าคุณหมอยังไม่ค่อยมั่นใจนัก หรือมี gray area อาจจะต้องทบทวน ค้นหา ศึกษาเรียนรู้เพิ่ม หรือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจจะทำให้มั่นใจขึ้น

สำหรับประเด็นที่สอง คือ คนไข้เกิดความเสียหายหรือไม่ ? (results in harm, injury, or death to a patient)

ความเสียหายมีหลายรูปแบบ เช่น ต่อร่างกาย ต่อจิตใจ ต่อสิทธิ และทรัพย์สิน เป็นต้น

สมมติคุณหมอจัดฟันให้คนไข้ไปด้วยเทคนิคพิสดาร แล้วคนไข้จัดฟันไม่เสร็จสักที คนไข้เริ่มบ่นว่าหมอเลี้ยงไข้ ทำให้เขาเสียเงินและเสียเวลา เช่นนี้ย่อมนับได้ว่าเกิดความเสียหาย

หรือ การรักษามีบางอย่างเกิดขึ้นและผิดไปจากแผน คนไข้ถูกถอนฟันเพิ่ม และไม่เคยได้รับแจ้งไว้ในส่วนนี้ ก็นับว่าเสียหาย

ความเสียหายที่เกิดกับคนไข้ จะเป็นสาเหตุอันนำไปสู่การฟ้องร้องเสมอ เพระเสียหายคนไข้ถึงฟ้องนั่นเอง (นอกจากเคสคนไข้ที่อาจจะไม่ได้เสียหายจริง)

อยากให้กลับมาย้อนดูทั้งสององค์ประกอบที่ผมกล่าวมา คือ รักษาได้มาตรฐานวิชาชีพ+ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ และความเสียหายที่คนไข้ได้รับ

สมมติ คุณหมอจัดฟันตามมาตรฐานด้วยความรอบคอบทุกอย่าง แต่คนไข้เกิดมีความเสียหายบางอย่าง เช่น เลือดไหลไม่หยุด หรือ ชักตายคาเก้าอี้ทำฟัน เช่นนี้ ยังไม่นับว่าMalpractice

และถ้าคุณหมอใช้เทคนิคจัดฟันแบบพิสดาร แต่สามารถจัดฟันเสร็จ คนไข้ไม่เกิดความเสียหาย และคนไข้ก็พึงพอใจในผลที่ออกมา ก็ ยังไม่อาจนับว่าMalpractice เช่นกัน

เพราะฉะนั้นการผิดมาตรฐานการรักษา ยังไม่อาจนับว่าถึงขั้น Malpractice ในทางกฎหมาย

แต่ถ้าการผิดมาตรฐานการรักษาเหตุอันนำไปสู่ความเสียหายบางอย่างในอนาคต เช่น ไม่ X-ray แล้วผ่าตัดไปแล้วคนไข้มีอาการชาไม่หาย จะเข้าองค์ประกอบว่า Malpractice

คุณหมออ่านถึงตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะทำให้คุณหมอพอเข้าใจได้มากขึ้นว่าการกระทำใดเข้าข่าย Malpractice หรือไม่ (คุณหมอสามารถแชร์ข้อมูลส่วนนี้ให้เพื่อน ๆ คุณหมอได้เลย ผมเชื่อว่าเป็นประโยชน์แน่นอนสำหรับทุก ๆ ท่าน)

ท่านใดอยากเรียนกฎหมายแบบสนุก ๆ และเข้าใจง่าย ๆ รวมถึงมีเคสที่อยากสอบถามเพิ่มเติมหรือแลกเปลี่ยน พบกันใน หลักสูตรหมอฟันทันกฎหมาย นะครับ ผมมั่นใจว่าคุณหมอจะเข้าใจกฎหมายมากขึ้น และมีเกราะป้องกันตัวที่ดีมาก ๆ ในอนาคตการทำงาน

สวัสดีครับ

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *